วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
 
 
ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


Asean Economic Community-AEC
 
              AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคนจากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม
         เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
          สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
           ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

AEC BLUEPRINT

          สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สาคัญดังนี้
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยมีรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว เร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขาที่มีความสาคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล แรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบันในอาเซียน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
(1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
(2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
(3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
(4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีขึ้น
(5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญลำดับแรกอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทำงอากาศ สุขภาพ e-ASEAN ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้
การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของอาเซียน
ได้แก่ยกเลิกภาษีศุลกากรให้หมดไป ทยอยยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนธุรกรรม เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนได้อย่างเสรีในสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น
2. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
เป้าหมายสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันมี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) นโยบายการแข่งขัน (2) การคุ้มครองผู้บริโภค (3) สิทธิในทรัพย์สินทำงปัญญา (IPR) (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (5) มาตรการด้านภาษี (6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนำกฎหมายและนโยบายการแข่งขันมาบังคับใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาคธุรกิจที่เป็นธรรม นำไปสู่การเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) (2) ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในระดับ SME และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้สามารถดาเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
อาเซียนอยู่ในท่ามกลำงสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันและมีเครือข่ายกับโลกสูง โดยมีตลาดที่พึ่งพากันและอุตสหกรรมระดับโลก ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนมีพลวัตรเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ผลิตของโลก รวมทั้งทำให้ตลาดภายในยังคงรักษาความน่าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจึงต้องมองออกไปนอกภูมิภาค
อาเซียนบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยดำเนิน 2 มาตรการคือ (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความเป็นหุ้นส่วนทำงเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซียน (2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานโลก

ประเทศในกลุ่ม AEC

     ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ
Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้
 
 
 
1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
 



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
 



 3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
 
 


4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา
 

 
 5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
ข้อควรรู้
-ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว



6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
 
 
 
7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
 

 
 8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
 

 
 9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
 
 
 
10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

ที่มา:http://www.thai-aec.com


 
 


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติ โค้ก โคคาโคล่า Coke Coca Cola


ต้นกำเนิด โค้ก Coke Coca Cola
Vin Mariani

       จริงๆแล้ว โค้กมีต้นกำเนิดมาจากไวน์โดยถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1863 โดย Angelo Mariani นักเคมีชาวฝรั่งเศส ประสบความสำเค็จในการนำเอาไวน์มาผสมกับโคเคน จนกลายเป็นไวน์แบบใหม่ที่เรียกว่า โคคาไวน์ (Cocawine) (โคเคนสกัดจากใบของต้นโคคา) ออกขายในยี่ห้อ “Vin Mariani” เป็นเครื่องดื่มที่โด่งดังและนิยมกันมาก ทั้งชาวยุโรปและอเมริกาบุคคลระดับสูงอย่างราชินีวิกตอเรีย ,โป๊บลีโอ ที่13 และโป๊บเซนต์พิอุสที่ 10 ต่างโปรดเสวย Vin Mariani กันทั้งนั้น
CocaPope
โป๊บลีโอได้ประทานเหรียญทองของสำนักวาตีกันให้แก่ไวน์ และยังการันตีไวน์ลงบนโปสเตอร์โฆษณาอีกด้วย จากความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ Vin Mariani จึงทำให้ จอร์น เอส เพมเบอร์ตัน นักผสมยาชาวอเมริกัน นำไปทำเลียนแบบออกขายในปี 1884 ใช้ชื่อยี่ห้อว่า “Pemberton’s French Wine Coca” แต่ในปี 1885 เมืองแอตแลนตารวมทั้งเขตฟุลตันมีการออกกฏหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เพมเบอร์ตัน จึงหาทางเปลี่ยนไวน์โคคาของเขาให้เป็นแบบที่ไม่มีแอลกอฮอลล์ สุดท้ายเพมเบอร์ตันทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ดของผลโคลา มาผสมกับสารจากใบโคคาแล้วพบว่ารสชาติดี (โคคาเป็นผลไม้เปลือกแข็งชนิดหนึ่งในป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกา มีสารคาเฟอีน)
Pemberton's French Wine Coca
จึงได้เครื่องดื่มชนิดใหม่ เอ็ม.โรบินสัน พนักงานบัญชีของเพมเบอร์ตัน ตั้งชื่อให้ว่า “โคคา-โคลา” เพราะมีส่วนผสมจากใบโคคาและผลโคลา ช่วงแรก โคา-โคลา นั้นมีขายในบาร์จ่ายโซดา และขายในฐานะเป็นยาบำรุงมีสรรพคุณสามารถรักษาอาการจากโรคติดมอร์ฟีน , โรคท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย และปวดหัวได้ น้ำที่ใช้ผสมก็ยังเป็นน้ำเปล่าอยู่
ประวัติโค้ก
       จนกระทั่งวันหนึ่งพนักงานประจำบาร์จ่ายโซดาที่ชื่อ วิลลิส อี เวเนสเบิล บังเอิญกดหัวฉีดผิด ดันไปผสมไซรัปของโคคา-โคลากับโซดา แทนที่จะเป็นน้ำเปล่า แต่เมื่อคนอื่นได้ชิมต่างบอกว่าอร่อยกว่าเดิม โคคา-โคลา จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำโซดาผสมนับแต่นั้นมาและกลายเป็นเครื่องดื่มที่นิยมไปทั่วโลกในปัจจุบัน
 
ที่มา:www.ความรู้รอบตัว.com
กินปลวก ! อาหารว่างแสนอร่อย


        ประเทศในแอฟริกานั้นไม่มีขนมมากมายเหมือนกับบ้านเรา เนื่องจากมีความแตกต่างทางฐานะอย่างมาก ทำให้เด็กจำนวนมากที่ยากจนไม่สามารถซื้อขนมกินได้ ปลวกจึงเป็นอาหารชั้นยอดสำหรับพวกเด็กๆ พวกเขานิยมจับปลวกที่คลานตามพื้นหยิบใส่ปากกิน หรือไม่ก็จับมดมาเยอะๆแล้วนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะผัดกับเนยถั่วหรือผัดแล้วโรยเกลือได้ แต่ปลวกก็เป็นอาหารที่ใช้โปรตีนและไขมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
 
ที่มา:www.ความรู้รอบตัว.com


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน


กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)


ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)



 
 
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn


 

 
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh

 
 
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id
 

 
 
             สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mofa.gov.la
 

 
 
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐโดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

 
 
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm
 

 
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph
 

 
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภามีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg
 

 
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th
 

 
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn
 
ที่มา:http://hilight.kapook.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงราย

ประวัติโรงเรียน




         โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นลำดับที่ 39 ของจังหวัดเชียงรายของกรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 กิโลเมตรที่ 4 – 5 เส้นทางสายเชียงราย – ดงมะดะ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 393 หมู่ที่ 1 ถนนเชียงราย – ดงมะดะ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นฌาปนสถานประจำหมู่บ้านหัวฝาย พ่อหลวงจวน ไชยชมภู ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้าน เนื่องด้วยในขณะนั้นหมู่บ้านยังไม่มีความเจริญ เส้นทางคมนาคมยากลำบาก จึงมีความเห็นที่อยากจะให้หน่วยงานทางราชการเข้าไปตั้งสถานที่ราชการในหมู่บ้านเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเจริญขึ้น จึงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในสมัยที่ท่านผู้อำนวยการ บรรจง พงศ์ศาสตร์(อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา)เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนโดยมอบหมายให้ อาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ หัวหน้าหมวดเกษตรกรรมศิลป์ ได้ดำเนินการประสานงานกับพ่อหลวงจวน ไชยชมภู และจัดหางบประมาณ โดยคณะครู – อาจารย์และนักเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ หาเงินซื้อที่ดิน จนครบ 40,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อซื้อที่ดินและมีโครงการใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นไร่ฝึกเกษตรของโรงเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 อาจารย์บรรจง พงศ์ศาสตร์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่และในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นอาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ ได้โอนย้ายไปรับราชการในสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนในยุคต่อมาเห็นว่าการเดินทางไป–กลับของนักเรียนเพื่อปฏิบัติงานที่ไร่ฝึกเกษตรยากลำบาก ดังนั้นจึงได้ระงับโครงการไร่ฝึกเกษตรดังกล่าว ที่ดินแปลงนี้จึงถูกทิ้งรกร้างอีกระยะหนึ่ง 


         ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการประสิทธิ์ แสนไชย ได้พัฒนาไร่ฝึกเกษตรอีกครั้ง โดยปลี่ยนแปลงเป็นสวนป่าโรงเรียนจึงได้รับมอบหมายให้หมวดวิชาเกษตรกรรมประสานงานตามโครงการ และให้ครู – อาจารย์และนักเรียนร่วมกันปลูกไม้ยืนต้น ต่อมาในสมัยที่ผู้อำนวยการบุญส่ง ไชยลาม (2532 – 2536) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนโยบายที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรมของโรงเรียนแต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล อาจารย์เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักถึงการขยายตัวทางการศึกษาของจังหวัดเชียงรายในอนาคต ตลอดจนความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมในขณะนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ทางโรงเรียนจะรับได้ ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินจัดซื้อจากวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดีบรรจง พงศ์ศาสตร์ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ดังที่คาดหวัง จึงได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมสามัญศึกษาจึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนโดยให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536

               ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 103 คน โดยมีนายสงัด มิตกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก ดำเนินการรับสมัครนักเรียน 

                วันที่ 13 พฤษภาคม 2537 – 30 กันยายน 2544 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นางพาณี จินดา-วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2


                วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 นายทวีศักดิ์ พิพัฒน์ขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 


              วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายอุทิศ สิทธิยศสมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม  2
            วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2552 – 10 พ.ย. 2554 นางสาวศุภวัลย์ คำวัง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2. 
        


 เอกลักษณ์สถานศึกษา
“ โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม”
อัตลักษณ์ของผู้เรียน
“ นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตอาสา”

 คติธรรมประจำโรงเรียน
 พลํ สํง ฆฺส ส สามฺค คี “สามัคคี คือ พลัง”
ปรัชญาของโรงเรียน
“เน้นคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม” 

วิสัยทัศน์
         โรงเรียนแห่งคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม สู่มาตรฐานสากลและประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
        1.พัฒนาผู้เรียนในมีคุณธรรมโดยน้อมนำตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
     2.ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล
    3.ประสานสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรภายนอกเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสังคม
    4.พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
    5.พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
    6.ส่งเสริม ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้เรียนให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมล้านนา

เป้าประสงค์
           นักเรียนโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม2 มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีจิตสำนึกตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
1.กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้
2.กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน
3.กลยุทธ์พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.กลยุทธ์ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
5.กลยุทธ์พัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
6.กลยุทธ์พัฒนาบุคลากรมืออาชีพ

     

               -  ห่วงกลม 6 ห่วง ประกอบด้วยสี 3 สี หมายถึง
               - สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน ขาว แสด เกาะเกลียวกันเป็นลูกโซ่อย่างเหนียวแน่น มั่นคง  เปรียบเสมือนความสามัคคีกลมเกลียวแน่นแฟ้น
               - รอบ ๆ ห่วง 6 ห่วง จะเปล่งประกายออกเป็นรัศมีทองแสด รวมทั้งหมด 39 แฉกหมายถึง   เป็นโรงเรียนมัธยมโรงที่ 39 ของจังหวัดเชียงราย
               - ตัวอักษรภาษาบาลี หมายถึง คติธรรมประจำโรงเรียน
             - ใต้ตัวอักษรบาลี  คือ  ปีพุทธศักราชที่ก่อตั้งโรงเรียน

 สีประจำโรงเรียน
          น้ำเงิน : ขาว : แสด 
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
           ต้นอินทนิล
ที่มา:www.swk2.ac.th